แนะนำ %Effective Dose ของวิตามิน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ที่มักใช้ในการรักษาสิว ฝ้า ลดริ้วรอย
เคยไหมคะ อยากทำแบรนด์ครีม แบรนด์เครื่องสำอาง ที่ช่วยเรื่องปัญหาสิว ฝ้า ริ้วรอย แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) อะไรใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ดี แล้วควรใส่มากน้อยแค่ไหนที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี เห็นผลได้ชัด แต่ยังคงปลอดภัยต่อผู้ใช้ วันนี้ Cosmania จะขออาสาเป็นผู้ช่วยพาเจ้าของแบรนด์ไปเปิดตำราดูสารยอดฮิต พร้อมกางงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าต้องใช้ปริมาณแค่ไหนถึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด !
1. Retinol
เรตินอล หรือ อนุพันธ์ Vitamin A เป็นสารสำคัญที่มีประโยชน์มากมายด้านเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็น ช่วยลดเรือนริ้วรอยรอยเหี่ยวย่นด้วยการเป็นตัวบูสต์การสร้างคอลลาเจนและสร้างเซลล์ผิวใหม่ ช่วยผลัดเซลล์ผิวลดการอุดตันของเคราติบริเวณรูขุมขน ลดเลือนจุดด่างดำจากการโดนแสงแดดทำร้าย ลดการอักเสบของสิวหรือลดการเจริญเติบโตของ C.acne ตัวการที่ทำให้เกิดสิว
ซึ่งเรตินอลก็มีผลวิจัยมากมายออกมารับรองในเรื่องของประสิทธิภาพ Cosmania ก็เลยขอโอกาสหยิบยกตัวอย่างผลการทดสอบมาให้ทุกคนดูไปพร้อมๆกันค่ะ จากผลการทดสอบพบว่า เรตินอลมีส่วนช่วยในการเพิ่มการสังเคราะห์ Procollagen I และ Procollagen III ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยืดหยุ่นและกระชับเต่งตึงให้กับผิว
นอกจากนั้นได้มีการทดสอบทางคลินิกที่ได้ให้อาสาสมัครใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ 0.1 % เรตินอล เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า อาสาสมัครมีริ้วรอยลดลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 0.0015% – 0.3%
2. Bakuchiol
จากที่ข้างต้นเราพูดถึงเรตินอลกันไปแล้ว รู้ไหมคะว่าเขามีแฝดคนละฝาที่ชื่อว่า Bakuchiol ด้วยนะ ซึ่งเจ้า Bakuchiol ตัวนี้เป็นสารตัวหนึ่งในกลุ่มเรตินอยด์ ที่สกัดมาจากเมล็ดของต้น Babchi ซึ่งเป็นพืชในตะกูลถั่ว มีความสามารถในการต้านริ้วรอยการกระตุ้นคอลลาเจนให้ผิวกระชับเต่งตึง ลดจุดด่างดำ ความหมองคล้ำบนใบหน้า ได้เหมือนกับเรตินอลเป๊ะๆ แต่เป็นเวอร์ชั่นที่อ่อนโยนกว่า และมีโอกาสที่จะเกิดการระคายเคืองน้อยกว่า !
ในงานวิจัยปี 2018 ได้ทำการเปรียบเทียบความสามารถในการลดเลือนริ้วรอยระหว่างเรตินอลและBakuchiol ผลปรากฎว่า Bakuchiol สามารถลดริ้วรอยได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ด้วยความที่สารสกัด Bakuchiol มาจากธรรมชาติ แต่ยังให้ประสิทธิภาพได้ดีเทียบเท่าเรตินอล แถมให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า เหมาะผู้มีผิวบอบบางแพ้ง่าย ทำให้สกินแคร์สมัยใหม่เริ่มหันมาใช้สารสกัดตัวนี้ทดแทนเรตินอลกันมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเทรนด์สารสกัดที่กำลังมาแรงมากๆตัวหนึ่งเลยทีเดียว
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 0.5%-2%
3. Vitamin C
สารออกฤทธ์ตัวเด่นตัวดังที่ไม่มีใครไม่รู้จัก ถูกใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางมากมายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันก็ไม่มีเชย เพราะวิตามินซีถือเป็น Anti-oxidant ที่ทรงพลังมากๆตัวหนึ่ง มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย โดยป้องกันการเกิด Oxidative stress ซึ่งเป็นภาวะและกระบวนการที่กระตุ้นให้ดีเอ็นเอ (DNA) โปรตีน และเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกายอักเสบและเสียหายต้นเหตุที่ทำให้ผิวแก่เร็วขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานิน ช่วยให้ผิวสว่างใสไม่หมองคล้ำ ลดเรือนจุดด่างดำ ลดการอักเสบบวมแดงของสิว
คุณประโยชน์มากมายขนาดนี้ ไม่แปลกใจเลยที่ทำไมวิตามินซีถึงเป็นสารซุปเปอร์สตาร์ที่ใช้ในเครื่องสำอางมาอย่างยาวนาน
จากงานวิจัยที่ได้ทำการทดสอบการดูแลผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินซีกับอาสาสมัครและสังเกตุการเปลี่ยนแปลงใน 7 วัน ตอนแรกนั้นอาสาสมัครมีสภาพผิวที่แห้งขาดน้ำ ระคายเคืองง่าย มีรอยดำรอยแดงบริเวณหน้าผาก แก้ม และคาง แต่เมื่อได้ทำการดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินซีแล้ว อาสาสมัครมีผิวที่ชุ่มชื้นขึ้น การระคายเคืองลดน้อยลง และรอยดำรอยแดงจางลง หน้าสว่างใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 10%-20%
4. Vitamin B3 หรือ Niacinamide
Vitamin B3 หรือ Niacinamide สารอีกตัวที่เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาในวงการเครื่องสำอาง มีคุณสมบัติมากมาย เช่น
- ช่วยลดเลือนจุดต่างดำ ฝ้าแดด โดยการยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานินในชั้นผิว
- ลดการอักเสบของสิว
- ช่วยสร้าง ceramide น้ำมันที่พบได้ในผิวตามธรรมชาติ มีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างปราการผิวและรักษาความชุ่มชื้นของผิว
จากการทดสอบแบบ Randomized double-blind ในปี 2011 ได้ทำการทดสอบครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 4% กับอาสาสมัคร พบว่า Niacinamide สามารถช่วยลดการเกิดเม็ดสีของฝ้าแดด และลดการอักเสบได้ดี
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 2%-5% (หากใช้ชนิด Safe-B3 สามารถใช้ได้สูงสุด 10% โดยไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองผิว)
5. AHA/BHA
เริ่มต้นกันเลยกับ AHA หรือที่ย่อมาจาก Alpha Hydroxy Acid เป็นสารออกฤทธิ์ที่สกัดมาจากผลไม้ธรรมชาติด้วยกระบวนการบ่มของอาหารกลุ่มนม ตัวเด่นตัวดังที่เราเห็นกันบ่อยๆก็คือ Glycolic Acid ที่มีคุณสมบัติในการช่วยผลัดเซลล์ผิวให้ดูกระจ่างใสขึ้น ลดรอยแดงรอยดำ เสริมสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 8%-10%
ต่อไปก็ถึงเวลาที่ BHA จะได้เฉิดฉาย คนที่เคยมีปัญหาสิวมาก่อน คงจะต้องรู้จักสารตัวดังในกลุ่ม BHA ตัวนี้อย่างแน่นอน จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Salicylic acid เพราะเขาขึ้นชื่อในเรื่องของการรักษาสิวโดยเฉพาะ โดย Salicylic acid นี้สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวที่อุดตันอยู่บริเวณรูขุมขนออกไปได้ ทำให้ไม่เกิดสิวอุดตัน ทั้งยังมีคุณสมบัติละลายได้ในไขมัน จึงซึมลึกเข้าถึงรูขุมขน ช่วยลดความมัน และ กำจัดสิ่งสกปรก สิ่งอุดตันได้ดี
รูปภาพจาก Quench Botanic
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทผลิตภัณฑ์
รูปภาพและข้อมูลโดย National Library of Medicine
6. Growth factor (Nicotiana Benthamiana Hexapeptide-40 SH-Polypeptide-76)
เอ๊ะ สารไม่คุ้นชื่อนี้คือตัวนี้มันคืออะไรกันนะ? Growth Factor แปลตรงตัวก็คือ ปัจจัยที่ทำให้เติบโต เป็นโปรตีนที่เซลล์ร่างกายผลิตและปล่อยออกมา ในทางความสวยความงาม Growth Factor มีความสามารถกระตุ้นให้เซลล์สร้างคอลลาเจน มีคุณสมบัติเป็นสารชะลอวัยและลดริ้วรอย
ซึ่งแน่นอนว่าได้มีงานวิจัยมารองรับมากายในความสามารถของ Growth Factor หนึ่งในตัวอย่างงานวิจัยในปี 2018 ได้ทดสอบทางคลินิกกับอาสาสมัครผู้หญิง อายุ 35-60 ปี ที่มีริ้วรอยเหี่ยวย่น หลังจากที่อาสาสมัครใช้ครีมที่มีสาร Growth Factor นี้ พบว่าริ้วรอยร่องตื้นและรอยเหี่ยวย่นลดน้อยลง
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 0.1- 10 mg ต่อเครื่องสำอางหนึ่งกิโลกรัม
7. Soybean Extract
สารสกัดเมล็ดถั่วเหลือง ด้วยคุณประโยชน์มากมายที่อัดแน่นอยู่ในเมล็ดถั่วเหลือง ทำให้ถูกใช้เป็นยารักษาในทางการแพทย์จีนมานับพันปี เป็นที่รู้จักกันดีว่าเมล็ดถั่วเหลืองเป็นแหล่งของโปรตีน ลิปิด และวิตามินต่างๆ
ในงานวิจัยที่ได้ทำการทดสอบกับเนื้อเยื่อภายในห้องแลป พบว่า Soybean Extract กระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนและอีลาสติน ที่ช่วยทำให้ผิวมีความกระชับยืดหยุ่น เติมเต็มริ้วรอยร่องตื้น และนอกจากนั้นยังช่วยลดการผลิตเม็ดสีเมลานิน จากการที่ผิวโดนทำร้ายจากแสงแดด
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : 4%
8. Arbutin
เจ้าของแบรนด์คนไหนอยากทำครีมหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาว มารวมกันตรงนี้! เพราะสารสกัดตัวนี้ขึ้นชื่อเลื่องลือในการช่วยให้ผิวขาวสว่างใส ช่วยลดรอยสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ และนิยมใช้ในเครื่องสำอางกันเยอะมากๆ ก็คือ Arbutin นั่นเอง
Arbutin เป็นสารสกัดธรรมาชาติที่มาจากพืชหลายชนิด ส่วนมากเป็นพืชเมืองหนาว เช่น แบเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่, มัลเบอร์รี่, ลูกแพร์ แต่รู้รึเปล่าคะว่า Arbutin ตัวนี้เป็นอนุพันธ์ของสาร hydroquinone ซึ่งเป็นสารที่เคยใช้เพื่อรักษาสิว ฝ้า มาเป็นเวลานาน แต่ Arbutin นั้นให้ความปลอดภัยและอ่อนโยนต่อผิวมากกว่า ในขณะที่ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ hydroquinone
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ :
Alpha-arbutin 0.2%- 2% สำหรับครีมทาหน้า เเละไม่เกิน 0.5% สำหรับโลชั่นทาตัว
Beta-arbutin ไม่เกิน 7% สำหรับครีมทาหน้า
9. tranexamic acid
tranexamic acid เป็น Whitening ตัวใหม่ที่กำลังมาแรง ซึ่งจริงๆแล้วแต่เดิมใช้เป็นยาใช้รักษาเกี่ยวกับภาวะเลือดไหลไม่หยุด เลือดออกมากผิดปกติ ใช้ในการผ่าตัด แต่มีการวิจัยเพิ่มเติมและค้นพบว่า tranexamic acid มีฤทธิ์ทำให้ผิวสว่างกระจ่างใส ยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานิน ลดฝ้า กระ และจุดด่างดำได้ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังอยากสร้างแบรนด์ครีม ที่ช่วยผิวในเรื่องปัญหา Hyperpigmentation เช่น ฝ้า กระ รอยดำ จะพลาดสารตัวนี้ไปไม่ได้เลย
จะเห็นได้ชัดว่าฝ้า กระ รอยดำรอยแดงนั้นจากหายไป หลังจากที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ 3% tranexamic acid เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในงานวิจัยปี 2014
ความเข้มข้นที่งานวิจัยแนะนำ : ไม่เกิน 3% (หากใช้เกิน 3% ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาฝ้า)
และนี่ก็คือสารออกฤทธิ์ที่น่าสนใจที่ช่วยแก้ปัญหา สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ ลดริ้วรอย สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่กำลังมองหาสารออกฤทธิ์เด็ดๆให้ผลลัพธ์ดีและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง มาใส่ในแบรนด์ครีม แบรนด์เครื่องสำอางของตัวเอง ก็พอจะได้รู้จักสารกันคร่าวๆรวมถึงปริมาณแนะนำกันไปแล้ว มาถึงตรงนี้อาจจะมึนๆกันไปบ้าง เพราะ Cosmania เราเอาข้อมูลงานวิจัยมาเยอะม้าก งั้นเราจะข้อสรุปข้อมูลเป็นตารางด้านล่างนี้ จะได้ดูกันง่ายๆไม่งงนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง : https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/jocd.12193
http://archive.sciendo.com/ARHSS/arhss.2016.13.issue-1/arhss-2016-0005/arhss-2016-0005.pdf
https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/vitamin-c-serums#what-to-look-for
http://archive.sciendo.com/ARHSS/arhss.2016.13.issue-1/arhss-2016-0005/arhss-2016-0005.pdf
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29947134/
file:///C:/Users/User/Downloads/fdajournal,+Journal+editor,+A_2.pdf
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=49
file:///C:/Users/User/Downloads/108713-Article%20Text-297642-1-10-20141010%20(1).pdf